top of page

ภาษาไทย

คำสมาส คำสนธิ

คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

  หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย 
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป 
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น) 
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา,ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน 
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ) 
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
8. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

ประวัติศาสตร์

คำสนธิ คือการสมาสโดยการเชื่อมคำเข้าระหว่างพยางค์หลังของคำหน้ากับพยางค์หน้าของคำหลัง เป็นการย่ออักขระให้น้อยลงเวลาอ่านจะเกิดเสียงกลมกลืนเป็นคำเดียวกัน

หลักสังเกตคำสนธิในภาษาไทย 
การสนธิแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. สระสนธิ 2. พยัญชนะสนธิ 3. นฤคหิตสนธิ 
       1. สระสนธิ คือการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นค้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระตามกฏเกณฑ์ 
       - ตัดสระพยางค์ท้ายคำหน้า แล้วใช้สระพยางค์หน้าคำหลัง เช่น

ราช + อานุภาพ

=ราชานุภาพ

สาธารณ + อุปโภค

=สาธารณูปโภค

นิล + อุบล

=นิลุบล

       - ตัดสระพยางค์ท้านคำหน้า และใช้สระพยางค์ต้นของคำหลัง โดยเปลี่ยนสระพยางค์ต้นของคำหลัง

  อะ เป็น อา

  อิ เป็น เอ

  อุ เป็น อู

  อุ, อู เป็น โอ

  เช่น  พงศ + อวตาร

         =พงศาวตาร

          ปรม + อินทร์

         =ปรเมนทร์

          มหา + อิสี

         =มเหสี

     - เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นพยัญชนะ คือ

   อิ อี เป็น ย

   อุ อู เป็น ว

      ใช้สระพยางค์ต้นของคำหลังซึ่งอาจเปลี่ยนรูปหรือไม่เปลี่ยนรูปก็ได้ ในกรณีที่สระพยางค์ต้นของคำหลังไม่ใช่ อิ อี อุ อู อย่างสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น

  กิตติ + อากร

=กิตยากร

  สามัคคี + อาจารย์

= สามัคยาจารย์

  ธนู + อาคม

= ธันวาคม

      คำสนธิบางคำไม่เปลี่ยนสระ อิ อี เป็น ย แต่ตัดทิ้ง ทั้ง สระพยางค์หน้าคำหลังจะไม่มี อิ อี ด้วยกัน เช่น

ศักคิ + อานุภาพ

=ศักดานุภาพ

ราชินี + อุปถัมภ์

=ราชินูปถัมภ์

หัสดี + อาภรณ์

=หัสดาภรณ์

      2. พยัญชนะสนธิ คือการเชื่อมคำด้วยพยัญชนะเป็นการเชื่อมเสียง พยัญชนะในพยางค์ท้ายของคำแรกกับเสียงพยัญชนะหรือสระในพยางค์แรก ของคำหลัง เช่น
      -สนธิเข้าด้วยวิธี โลโป คือลบพยางค์สุดท้ายของคำหน้าทิ้ง เช่น

นิรส + ภัย

=นิรภัย

ทุรส + พล

=ทุรพล

อายุรส + แพทย์

=อายุรแพทย์

      -สนธิเข้าด้วยวิธี อาเสโท คือแปลงพยัญชนะท้ายของคำหน้า เป็นสระ โอ แล้วสนธิตามปกติ เช่น

มนส + ภาพ

=มโนภาพ

ยสส + ธร

=ยโสธร

รหส + ฐาน

=รโหฐาน

      3. นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมคำด้วยนฤคหิต เป็นการเชื่อมเมื่อพยางค์หลังของคำแรกเป็นนฤคหิตกับเสียงสระในพยางค์แรกของคำหลัง มี 3 วิธี คือ 
      1. นฤคหิตสนธิกับสระ ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็น ม แล้วสนธิกัน 
           เช่น สํ + อาคม = สม + อาคม = สมาคม 
                  สํ + อุทัย = สม + อุทัย = สมุทัย 
      2. นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะของวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของพยัญชนะในแต่ละวรรค ได้แก่
                  วรรคกะ เป็น ง 
                  วรรคจะ เป็น ญ 
                  วรรคตะ เป็น น 
                  วรรคฏะ เป็น ณ 
                  วรรคปะ เป็น ม 
           เช่น สํ + จร = สญ + จร = สัญจร 

              สํ + นิบาต = สน + นิบาต = สันนิบาต 
      3. วรรคกะ เป็นสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ง 
          เช่น สํ + สาร = สงสาร 
                  สํ + หรณ์ = สังหรณ์

วริศราภรณ์  อ่อนจันทร์  ม.2/1  เลขที่  27

โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง

bottom of page